ปิยะ ไกรทอง วางมือทำบอลอาชีพ
  • 30 พฤษภาคม 2024 at 15:04
  • 64
  • 0

#เมื่อมีคนอำลา #เลขาเดย์เล่าให้ฟัง

 

มีเรื่องวงในมาเล่านิดหน่อย 

หลังจากได้ยินคนเลิกทำทีม ก็อยากรู้ตามประสานักข่าวขี้เสือก

คนในอยากออกคนนอกอยากเข้าใช้ได้ทุกวงการ ทุกสมัย

อย่างที่เคยเกริ่นที่มาไทยลีก 3 ไปแล้ว ตามลิงค์นี้ 

https://www.supersubthailand.com/th/articles/294682

 

ฟุตบอลลีกล่าง คือ ฐาน   ลีกบนคือยอด 

คนทำลีกบน คือคนรวย คนที่ทำธุรกิจฟุตบอล เหลือกินเหลือใช้ หรือต่อยอดธุรกิจเก่าตัวเอง องค์กร 

หรือแม้แต่นักการเมือง ที่ของมันต้องมี จะกำไร เหมือนบุรีรัมย์ ที่สปอนเซอร์ตูมตาม อีเวนท์กีฬาเพียบที่ตัวเมือง

หรือแม้แต่ บีจี ปทุม สิงห์ ลีโอ หันมาเอาดี เรื่องทีม เรื่องแฟคซิลิตี้ สนามซ้อมคุณภาพ ขยายไปใหญ่โต รุกธุรกิจกีฬา 

ในขอบเขตพื้นที่ในอาณาจักรตัวเอง  กลุ่มลีกบน เป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ 

กลุ่มลีกล่าง เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ก็คือกลุ่มลีกบน ปัจจุบัน ถ้าดึกดำบรรพ์กว่านี้ คือพวกทำบอลส่งอยู่แล้ว 

ลีก ก็คัดกรองคนแข็งแกร่ง ขึ้นไปอยู่ลีกบน ใครมาช้า ก็มาตามไป เข้าวงการจนถึงปัจจุบัน 

แต่คนลีกล่างที่อยู่ปัจจุบัน คือ พวกใจรัก บ้าบอล มหาวิทยาลัยใช้กีฬานำ พวกกลุ่มโค้ชในท้องถิ่น นักการเมือง มีเข้ามีออกกันตามประสา 

ปีนี้ ได้เห็นหลายทีมบอกพอ หยุด เลิก

ได้คุยกับ พิษณุโลก ยูนิตี้ (ปธ.ปิยะ ไกรทอง) อดีต วัดโบสถ์ ซิตี้ , อดีตแฟนบอล พิษณุโลก คนเก่าแก่ในวงการแฟนบอล

ที่ทำธุรกิจ เสื้อผ้ากีฬาพิมพ์ลาย h2h sport design ที่บูมมาตามกาลเวลา พอจะมีเงิน มาทำบอลเพื่อธุรกิจ และเพื่อความบ้าบอล ของตัวเอง และของจังหวัด 

.

.

คีย์เวิร์ด หลักๆ คือ ทำทุกอย่างแล้ว ลีกมันไม่ไหว ในการดัน ให้เข้าไปเป็นธุรกิจที่หาเงินได้จริงๆ มันยาก 

หากคนทำบอลไม่ใช่นักการเมือง ที่พอจะมีพาวเวอร์ ในการดึงเงินจากภาคส่วนต่างๆ มาบริหารทีม 

สิ่งนี้ ทุกคนคงเข้าใจกันหมด 

.

.

ถามว่า โดนไปเท่าไหร่ ก็อาจจะไม่เยอะกับทีมใหญ่ในวงการ 5 ปี 30 ล้าน แบบไม่สุรุ่ยสุร่าย กับนักเตะ ถือว่าเฉลี่ยใช้ ปีละ 5-6 ล้าน  แต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่ว่าใช้เท่าไหร่ แต่ว่าหาได้เท่าไหร่ ต่อปี มากกว่า 

.

.

สปอนเซอร์ ในจังหวัด ได้หลักแสน เพราะคุณค่าลีก มันไม่มี  นโยบายรัฐ มันก็ไม่เอื้อ ในการช่วยเรื่องภาษี  ซึ่ง คิดง่ายๆ ลีกเตะ 6 เดือน สปอนเซอร์ ที่ไหนจะมาสนใจ  ถ่ายทอดสด ก็ต้องถ่ายกันเอง ตรงนี้ เป็นโจทย์ หลัก ของคำว่า คุณค่าลีก 

H2H Sport มีทีมงานถ่ายทอดสด รถตู้ เอง เป็นมีเดียของตัวเอง ยกกองไปถ่ายกันเอง 3 กล้อง ตามจังหวัดต่างๆ มีคนพากษ์ เพื่อให้แฟนบอลได้ชม 

.

.

สิ่งเหล่านี้ ผมเข้าใจอยู่แล้ว ซึ่งถามไปโพล่งๆ ว่า มีอะไรยังไม่ได้ทำไหม 

.

.

ปิยะ ตอบมาแบบตรงๆ “ตอนเป็นแฟนบอลยืนดูบนอัฒจันทร์ ยังไม่ได้ลอง ก็ไม่รู้ เมื่อได้เข้ามาแล้ว ก็ได้รู้ทุกอย่างว่ามันเป็นอย่างไร  อะไรที่แฟนบอล บอกนั่นนี่ ทำไมไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้  ทำมาหมดแล้ว ทำมาหมดทุกอย่างแล้ว แต่มันไม่ได้จริงๆ”  ปิยะ ตอบแบบคนเข้าใจมุมธุรกิจ

.

.

คนในจังหวัด พิษณุโลก หรือ ใกล้เคียง คงรู้จัก ปิยะ อยู่แล้ว ในมุมของแฟนบอล + คนทำทีม ซึ่งผมมองว่า เขาเป็นนักธุรกิจคนหนึ่ง ที่เอาเงินทำธุรกิจ มาช่วยแบ่งปันกลับไปสู่สังคม เงิน 5 ล้าน ต่อปี มันทำให้สังคมพัฒนา มีกีฬาให้เด็กๆ มีอะคาเดมี่ ต่อยอดเด็ก สู่วงการฟุตบอล สู่ทีมชาติในอนาคต 

.

.

แต่เมื่อนักธุรกิจ มองไม่เห็นอนาคตในการหาเงินมากกว่าเดิม คำว่า “หยุด” ง่ายกว่าในการเซฟ เงินทุน ผมใช้คำว่า จะโยนเงินทิ้งกับทีม ปีละ 5 ล้าน และคนนั้นๆ จะได้อะไร ถ้าเป็นเอกชน  ผมคิดว่าได้ CSR อย่างเดียวเท่านั้น ในระบบลีกล่าง 

.

.

แต่ พิษณุโลก ยูนิตี้ ไม่ได้เลิกทำทีม  ปิยะ ได้ส่งต่อไป ยัง นายกโย แบบฟรีๆ แบบให้ไปเลย แต่ส่วนปิยะ ไกรทอง ใช้คำว่า วางมือจากการทำทีม อยากดูบอล ก็ใช้เวลาว่าง ไปดู จะไปดูที่ไหน ก็ไป แล้วก็กลับ สบายกว่าเยอะ 

.

.

ซึ่งผมถามต่อ เลิกทำทีม เลิกทำบอล จะกลับไปบริหาร อะเมสซิ่ง ไดโนซอร์ เขาค้อ (Amazing Dinosaur เขาค้อ | Khao Kho

) อย่างเดียวเลยใช่ไหม  ลิงค์ https://www.facebook.com/AmazingDinosaurKhaokho/ 

“ผมย้ายไปอยู่เขาค้อ ถาวร เลยครับ ทำที่นี่ที่เดียว และมีแพลนขยายแหล่งท่องเที่ยวไปอีกที่ ส่วนพิษณุโลก คงต้องปล่อยทั้งหมด เหลือไว้แค่ร้านอาหาร เพราะแหล่งท่องเที่ยว ก็อยู่ได้อยู่แล้ว อากาศบนเขาก็ดีทั้งปี ไม่ต้องไปวุ่นวาย ส่วนเรื่องทีมยกให้ "นายกโย" ภีมพล พิลาศจิตร” ไปสานต่อทั้งหมด  ใจความที่ปิยะกล่าว” 

.

.

อ่าว แล้ว H2H สปอร์ต ดีไซน์ ละ ถามด้วยความสงสัย เพราะในโซนเหนือ เรื่องเสื้อผ้ากีฬาพิมพ์ลายที่โตมาก่อนใครๆ ในวงการ 

“ก็คงต้องเลิก ขายที่ดินที่คิดว่าจะขยายโรงงาน เพราะราคาขายเสื้อที่ตัดกันแหลก” 

.

.

ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงของนักธุรกิจ หนึ่งคน ที่ต้องปรับตัวกับธุรกิจ 2-3-4 ธุรกิจที่เขาถืออยู่ 

เขาไม่ได้เสียใจกับการเลิกทำธุรกิจฟุตบอล เพราะมันเป็นธุรกิจที่ไม่ได้สร้างรายได้ ในระดับจังหวัด 

เมื่อมันมีแต่เสียกับเสีย ยังจะมีคนบ้าที่ไหน เอาเงินที่หามาได้ โยนทิ้งไปกับฟุตบอล ซึ่งเขาไม่ได้เล่นการเมือง

.

.

ปิยะ เป็นคนบ้าบอลคนหนึ่งเหมือนคนทั่วๆ ไป เมื่อมันไม่เวิร์ค ก็แค่หยุด แล้วไปทำอย่างอื่นต่อ 

.

.

ปัญหาของลีกล่าง ในเชิงบริหาร คืออะไร , เป็นที่นโยบาย หรือเป็นทีม ความไม่พร้อมของลีก 

.

ปัญหาคำว่า ฟุตบอลอาชีพ เมื่อเป็นอาชีพแล้วคือมีรายได้ , จะไปเช่าสถานที่ ราชการ ต้องจ่ายแพง

เช่าสถานที่เอกชน ต้องจ่ายแพงกว่า เพราะเขามองว่าเป็น ทีมอาชีพ 

.

.

ตรงนี้มีคนรู้ หรือไม่ว่ามันติดขัด อะไรบ้าง 

.

.

เรื่องคนทำทีมหายไป ผมไม่ขัดข้อง เพราะลีกมันไม่น่าจะรอด 

.

ที่อยู่รอดคือ ขายแพ็กรวม แล้วเอามาเฉลี่ยให้ ไทยลีก 3 ได้เดิน ทีมละ 1 ล้าน แล้วปล่อยสโมสรไปหาเงินกันเอง ใครหาไม่ได้ หรืออ่อนแอ ก็แพ้ไป เปลี่ยนคนใหม่ เข้ามา ตรงนี้มันไม่ตอบโจทย์ปัญหาที่แท้จริงไม่ได้ 

.

.

ทีมก็จะใช้วิธีการอื่นๆ ตามที่เห็น  จ้างเด็ก เบี้ยวเงินบ้าง จ่ายไม่ครบบ้าง เพื่อแลกกับคำว่าได้เล่นอาชีพ มันคุณภาพจริงหรือไม่ 

.

(เราไม่ได้กล่าวถึงทีมมีเงิน มีคุณภาพในการบริหาร)  เรากำลังมองให้ลึกถึงปัญหาที่ลีกกำลังเผชิญ 

.

.

สุดท้าย คงเป็นหน้าที่ของสภา หรือ คอนเน็กชั่น ระดับประเทศ ที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องมีนโยบาย รัฐ เข้ามาช่วยในการลดภาษี หรืออะไรก็ได้ ในการสนับสนุนวงการฟุตบอล ให้ยั่งยืนมากกว่าการโยนเงิน 1 ล้าน แล้วจบ แบบนั้นมันง่ายไปสำหรับการบริหารงานสมาคมฯ ใครๆก็เป็นได้ เหมือนที่ผ่านมา 

#เลขาเดย์

ภาพ แชมป์ไทยลีก 4 วัดโบสถ์ ซิตี้ ปี 2019